วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัด

 -ใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน
สาระเรียนรู้แกนกลาง
 - ซอฟแวร์ระบบประกอบด้วยระบบปฏิบัติการโปรแกรมภาษาและโปรแกรมอรรถประโยชน์
 -ซอฟแวร์ประยุกต์ประกอบด้วยซอฟแวร์ประยุกต์ทั่วไปและซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
 -ใช้ซอฟต์แวร์ระบบในการทำงาน เช่น บีบอัด ขยาย โอนย่ายข้อมูล ตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์
 -ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการทำงาน

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ
อ่านเพิ่มเติม



ความหมายและการพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

    การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ 
        วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ อ่านเพิ่มเติม




เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก  ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง อ่านเพิ่มเติม



โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
       การสื่อสารโยผ่านระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง และกำหนดมาตราฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
  โพรโทคอล
          โพรโทคอล คือข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะ จัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
              การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้โพรโทคอลนี้

เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล   วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย  ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโพรโทคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท อ่านเพิ่มเติม


เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์


เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้
   เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย
เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้
1) สายตีเกลียวคู่ ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้นที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่อจากการสายตีคู่เกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่เส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินหนึ่งร้อยเมตร เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดีจึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่มี 2 ชนิด ดังนี้
    1.1)  สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดไม่หุ้มฉนวน  เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของชนิดหุ้มฉนวน  ใช้ในระบบวงจรโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีการปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น สามารถให้กับสัญญาณความถี่สูงได้ และเนื่องจากมีราคาถูกจึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย
    1.2)  สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน หรือชนิดหุ้มฉนวน  เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า รองรับความถี่ของการส่งข้อมูล ได้ถูกกว่าสายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่มีราคาแพงกว่า
2) สายโคเเอกซ์  มีลักษณะเช่นเดียวกันกับสายที่ต้องมาจากเสาอากาศ ประกอบด้วย ลวดทองเเดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถัก เป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า เเละสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุด ด้วยฉนวนพลาสติก สัญญาณไฟฟ้า สามารถผ่านได้สูงมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสัญญาณดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณ  อะนาล็อก

3)  สายใยเเก้วนำเเสง หรือสายใยนำเเสง แกนกลางของสาย ประกอบด้วย สายใยแก้ว หรือเส้นพลาสติกขนาดเล็ก ภายในกลวง หลายๆ เส้น อยู่รวมกัน เส้นใยเเต่ล่ะเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยเเต่ล่ะเส้นห่อหุ้มด้วย เส้นใยอีกชนิดหนึง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุด ด้วยฉนวน การรับส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลาง ชนิดนี้จะแตกต่างชนิดอื่นๆ ซึงจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ล่ะเส้น และอาศัยหลักการหักเหของเเสง ด้วยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนเเสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาเเนของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก เเละไม่มีการก่อกวนของคลื่นเเม่เหล็ก ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง หรื่อ วีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน เเต่ยังมีข้อเสีย เนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหักจึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึกได้ สายใยเเก้ว นำเเสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมือง.





ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ อ่านเพิ่มเติม